การเพิ่มผลผลิตในองค์กร
🍭 การเพิ่มผลผลิตในองค์กร
ในยุคที่มีการแข่งขันกันสูงทางการค้าและธุรกิจองค์การต่างๆ
ทั้งที่
ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมรวมถึงองค์การของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
หลักของการเพิ่มผลผลิตในองค์การทุกแห่งจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด 4 ประการ
คือ
🍥การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ
🍥การลดต้นทุน
🍥ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าและการบริการ
🍥ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
🌲ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง
ความสามารถที่จะนำทรัพยากรที่มีอยู่ออกมาใช้ได้อย่างดีที่สุดในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมาย
ความหมายที่ 2 หมายถึง
ความสามารถที่ทำให้เกิดผลในการงานหรือลงมือทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม (Doing
Things Right)ประสิทธิภาพเป็นการเปรียบเทียบส่วนที่เป็น Input หรือปัจจัยนำเข้ากับ Output ผลิตผลที่ได้
การวัดค้าประเมินประสิทธิภาพ คือ Input ต้องใกล้เคียงกับ Output มากที่สุดและมีความสูญเสีย
น้อยที่สุด ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง
ความสามารถในการเลือกเป้าหมายที่เหมาะสมในการบรรลุเป้าหมายนั้นๆ
ความหมายที่ 2 หมายถึง
ผลสำเร็จหรือผลที่เกิดขึ้นหรือการเลือกลงมือทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม
🌲อัตราผลิตภาพ (Productivity)ผลิตภาพ คือ
อัตราส่วนระหว่างผลิตผล (Outputs) ขององค์การในรูปของสินค้าและบริการต่อจำนวนปัจจัยการผลิต (Inputs) ที่ใช้ไปเราสามารถแบ่งประเภทของอัตรา
ผลิตภาพได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
🌹อัตราผลิตภาพเฉพาะส่วน (Partial Productivity) คือ
อัตราส่วนระหว่างผลิตผลต่อทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตแต่ละชนิด
เช่น อัตราผลิตภาพวัตถุดิบ (Material Productivity)
อัตราผลิตภาพเรื่องเงินลงทุน (Capital
Productivity)
อัตราผลิตภาพแรงงาน (Labor
Productivity)
อัตราผลิตภาพค้าใช้จ่าย (Expense Productivity)
อัตราผลิตภาพพลังงาน (EnergyProductivity) เป็นต้น
🌹อัตราผลิตภาพองค์ประกอบรวม (TotalFactorProductivity)
คือ
อัตราส่วนผลิตผลสุทธิ ต่อผลรวมของทรัพยากรด้านเงินทุน และแรงงาน
🍭 วงจรผลิตผล (Productivity Cycle)
การเพิ่มผลผลิตจะเกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง
มีลักษณะเป็นวงจร (Cycle) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการของวงจรผลิตภาพหรือวงจรการเพิ่มผลผลิต
เป็นขั้นตอนดังนี้
🍙การวัดผลงาน (Measurement)
🍙การประเมินผลงาน (Evaluation)
🍙การวางแผน (Planning)
🍙การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement)
🍭 ต้นทุนและความสูญเสีย
องค์การที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินงานผู้บริหารมักคำนึงถึงกำไร (Profits) เป็นเป้าหมายสูงสุดซึ้งการจะได้กำไรมากน้อยขึ้นอยู่กับราคาขายหรือมูลค่าสินค้าต้องสูงกว่าต้นทุนการผลิต
จากสมการ
กำไร
= ราคาขาย – ต้นทุน
🍡ต้นทุน (Cost) หมายถึง
ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปสำหรับทรัพยากรทางการผลิตเพื่อให้เกิดผลิตผล
ต้นทุนการผลิตที่เป็นค่าใช้จ่ายแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
🍠ค่าวัสดุ (Material Cost)
🍠ค่าแรงงาน (Labor Cost)
🍠ค่าโสหุ้ย (Overhead Cost)
ค่าโสหุ้ย
จะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่างๆ
– ค่าวัสดุทางอ้อม เช่น ค่าวัสดุเครื่องใช้สำนักงาน ค่าทำความสะอาด
ค่าบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
– ค่าแรงงานทางอ้อม เช่น ค่ายามรักษาความปลอดภัย ค่าพนักงานทำความสะอาด
พนักงานรับโทรศัพท์ เป็นต้น
– ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
– ค่าใช้สอยอื่นๆ
– ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและทรัพย์สินอื่น ๆ
– ค่าใช้จ่ายสวัสดิการ เช่น โบนัส ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ
– ค่าขนส่ง เป็นต้น
🍡 ความสูญเสีย (Lost) หมายถึง
ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปแล้วไม่เกิดผลผลิต บางองค์การอาจใช้คำว่า ความสูญเปล่า (Waste)
ในความเป็นจริง ความสูญเสียหรือความสูญเปล่าก็คือต้นทุนแต่เป็นต้นทุนที่ไม่ก่อผลประโยชน์
ปัญหาของการเพิ่มผลผลิต ซึ้งทำให้ผลผลิตตกต่ำลงและอาจมีสาเหตุหลายประการซึ้งทำให้เกิดความสูญเสีย ได้แก่
🍗 ความสูญเสียในส่วนวัสดุ เช่น
– มากเกินไป สั่งซื้อมามาก ทำให้หมดเงินลงทุน
และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ
– สูญหาย การวางผิดที่ หยิบใช้โดยไม่ต้องบอก ฯลฯ
– ไว้ผิดประเภท จัดซื้อไม่ถูกขนาดหรือ Spec เสียค่าใช้จ่ายมาก
ฯลฯ
🍗 ความสูญเสียในส่วนเครื่องจักร
– เก่าชำรุด
– สกปรก ขาดการดูแลรักษา
– ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ฯลฯ
🍗 ความสูญเสียในส่วนแรงงาน
– ขาดระเบียบวินัย
– ขาดการฝึกอบรม
– มีทัศนคติที่ไม่ดีในการทำงาน ฯลฯ
🍗 ความสูญเสียในส่วนกระบวนการผลิตหรือวิชาการทำงาน
– ขาดเทคโนโลยี
– ไม่มีการพัฒนาควบคุมคุณภาพ ฯลฯ
ความสูญเสีย 7 ชนิด บริษัท
โตโยต้ามอเตอร์ แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ระบุถึงสาเหตุของความสูญเสีย 7ชนิด
ไว้ ดังนี้
🌵 ผลิตมากเกินไป
🌵 ของชำรุดเสียหายหรือของเสีย
🌵 ความล่าช้าหรือการรอคอย
🌵 วัสดุคงคลัง สินค้าคงคลังมากเกินไป
🌵 การขนส่งหรือการขนย้าย
🌵 กระบวนการหรือการแปรรูป
🌵 การเคลื่อนไหว
– ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)
การผลิตมากเกินไป
ทำให้มีการใช้วัตถุดิบและแรงงานเกินความจำเป็น
เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตขั้นสุดท้าย และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า
การบรรจุภัณฑ์และการขนส่ง
– ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตของเสีย (Defect)
การผลิตของเสีย
หมายถึง การสูญเสียคุณค่างาน เสียเวลา เสียวัตถุดิบ
และยังเป็นการเพิ่มงานในการผลิตหรือการแก้ไขงานใหม่
– ความสูญเสียที่เกิดจากการล่าช้าหรือการรอคอย (Delay or
Waiting)
การรอคอย
หรือความล่าช้า เกิดจากสาเหตุต่างๆ กัน เช่น
ความล่าช้าของการส่งวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน การใช้เวลานานในการติดตั้งเครื่องจักร
กระบวนการขาดความสมดุลอันเนื่องจากการวางแผนการผลิตไม่ถูกต้อง
– ความสูญเสียที่เกิดจากการมีวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็น (Inventory
/ workin-process)
การสะสมวัตถุดิบไว้จำนวนมากแล้วใช้ไม่ทัน
ทำให้ต้องใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาต้องเสียค่าใช้จ่าย ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย
เสียเวลาทำงาน และเสียทรัพยากรอื่นๆ
– ความสูญเสียที่เกิดจากการขนส่งหรือขนย้าย (Transport)
การใช้แรงงานขนส่งของเป็นระยะไกลๆ
ในการทำงาน การเดินทางของพนักงานส่งเอกสาร
การขนส่งเป็นการสูญเสียที่ไม่ได้เพิ่มคุณค่าของสินค้า
– ความสูญเสียเกิดจากการกระบวนการผลิต (Process)
ความสูญเสียอาจเกิดจากการไม่ได้ดูแลรักษาเครื่องจักร
การทำงานด้วยมือที่มีการข้ามขั้นตอนการทำงาน เครื่องจักรมีประสิทธิภาพต่ำ
– ความสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)
การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น
การปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสมถูกต้อง การทำงานกับเครื่องมือหรืดอุปกรณ์ที่มีขนาดน้ำหนักหรือสัดส่วนที่ไม่เหมาะสมกับร่างกาย
🍭 เทคนิคการเพิ่มผลผลิตในองค์การ
หลักการสำคัญของการบริหารเพื่อเพิ่มผลผลิตในองค์การ
สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง คือ
🍃 เวลาในการผลิต
🍃 การวางแผนควบคุมการผลิต
🍃 การใช้ระบบเพียงระบบเดียวในการผลิต
🍃 ไม่มีวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมการผลิต
-เวลาในการผลิตผู้บริหารจะต้อง
– ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไร้ค่า
– ค้นหาสาเหตุของความล่าช้า
– จัดลำดับความสำคัญของงานโดยกำหนดลำดับสูงสุด
– ลดรอบเวลาในทุกหน้าที่งานทั้งด้านงบประมาณ
-การวางแผนควบคุมการผลิต
– การใช้ระบบเพียงระบบเดียวในการผลิต
องค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ
ที่ใช้ในการผลิตจะเหมือนกัน แม้ว่าขนาดขององค์การจะแตกต่างกัน
-ไม่มีวิธีที่สุดในการควบคุมการผลิต
การผสมผสานระหว่าง
การวางแผน การดำเนินการควบคุมจะช่วยให้
การบริหารมีประสิทธิภาพ
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตและช่วยลดความสูญเสีย
ได้แก่
🌸 หลักการ ECRS
E
= Eliminate : การขจัดขั้นตอนหรือวิธีการทำงานที่ไม่เป็นประโยชน์
C
= Combine : การรวบรวมขั้นตอนต่างๆ
R
= Rearrange : การจัดลำดับขั้นตอนการทำงานใหม่ตามลำดับก่อนหลัง
S
= Simplify : การปรับปรุงให้ขั้นตอนหรือวิธีการทำงานต่างๆ
🌸 การผลิตแบบ “จิ๋วแต่แจ๋ว”
หรือการผลิตแบบกะทัดรัด (Lean
Manufacturing) หมายถึง
ระบบการผลิตที่กะทัดรัดแต่มีประสิทธิภาพ โดยวิธี
– ลดต้นทุนการผลิต
– ลดเวลาในการผลิต
– ลดสินค้าในสต๊อก
– ขจัดงานที่ไม่สร้างมูลเพิ่มทิ้ง
แนวคิดพื้นฐาน
คือ
🍁 การฝึกอบรมพัฒนาเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว
🍁 การดำเนินการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
🍁 การลดจำนวนสินค้าในสต๊อก
🍁 การขจัดงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทิ้งไป
🌸ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (JIT : Just in Time) หรือระบบการผลิตของโตโยต้าที่เรียกว่า
ระบบคัมบัง (Kanban System)
หลักการของระบบ JIT ประกอบด้วย
🍌 ระบบคัมบังการเบิกชิ้นส่วนในการผลิต
🍌 การเปรียบเทียบทางการผลิต
🍌 การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรให้สิ้นลง
🍌 การทำงานอย่างมีมาตรฐาน
🍌 การวางผังเครื่องจักร
🍌 ระบบอัตโนมัติ
🍌 ระบบการควบคุมด้วยการมองเห็น
🍌 กิจกรรมในการปรับปรุงงาน
🌸 เทคนิคการบำรุงรักษาทวีผล (Total Productive Maintenance)
🍊 กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร
🍊 ความสูญเสียจากการหยุดเนื่องจากขัดข้อง (Breakdown)
🍊 ความสูญเสียจากการปรับตั้งและปรับแต่งเครื่องจักร
(Set-up and
Adjust-ment)
🍊 ความสูญเสียจากการหยุดเล็กน้อยและเดินเครื่องเปล่า
(Idling
and Minor Stoppages)
🍊 ความสูญเสียเนื่องจากเครื่องจักรเสียความเร็วในการผลิต (Reduced
Speed)
🍊 ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตของเสีย (Defects)
🍊 ความสูญเสียเนื่องจากการสูญเสียวัตถุดิบเมื่อเริ่มเดินเครื่อง
🍊 การสร้างระบบการบำรุงรักษาเครื่องจักร
🍊 การจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องจักร
🍊 การสร้างระบบป้องกันการรักษาโดยพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานเพิ่มทักษะและปลูกฝังจิตสำนึกในการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้มากขึ้น
🌸 เทคนิควิศวกรรมอุตสาหกรรม (Industrial Engineer Technique)หรือ Ietechniqueประกอบด้วยกลุ่มของเทคนิคต่างๆ
ที่สามารถยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น ขจัดของเสีย และ
การทำงานที่ไม่คงที่
🌸 การเพิ่มผลผลิต โดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด
สามารถทำได้ด้วยแนวทางการปรับปรุงใน 8ประการ ได้แก่
🌽 การจัดเก็บและการขนย้ายวัสดุสิ่งของอย่างมีประสิทธิภาพ
🌽 การออกแบบและจัดบริเวณที่ทำงานใหม่
🌽 การใช้เครื่องจักรอย่างประสิทธิภาพ และปลอดภัย
🌽 การควบคุมสารเคมีอันตราย และสัตถุอันตราย
🌽 การปรับปรุงแสงสว่าง
🌽 การเพิ่มสวัสดิการ
🌽 การปรับปรุงอาคารสถานที่
🌽 การจัดรูปแบบของงานใหม่ เป็นต้น
ขอขอบคุณ https://cpico.wordpress.com/2009/11/29/
สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2561
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น